มนุษย์มีความผูกพันธ์อยู่กับสังคมและสิ่งแวดล้อมของวิถีชีวิตตั้งแต่เกิดมาในสถาบันเล็กๆ คือ ครอบครัว เป็นสถาบันแรกเริ่มที่ทุกคนต้องรู้ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย วัฒนธรรมไทย และคติความเชื่อต่างๆ ที่บรรพบุรุษได้ให้เรียนรู้อบรมสั่งสอนสืบต่อกันมา ถือได้ว่าสิ่งเหล่านี้เป็นแบบแผนของสังคมในแต่ละภาค สังคมแต่ละสังคมก็ย่อมมีความแตกต่างในเรื่องขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม และคติความเชื่อแตกต่างกันออกไปทั้งนี้ขึ้นอยู่กับค่านิยมของแต่ละภาค ประเพณีไทยเป็นการกระทำกิจกรรมทางสังคมที่ผู้คนส่วนใหญ่ถือปฏิบัติสืบต่อกันมา ประเพณีเป็นบรรทัดฐานเกี่ยวกับการดำเนินชีวิต ตามความคิดความเชื่อปฏิบัติเพื่อความเจริญแห่งตนและสังคม ประเพณีไทยเป็นผลมาจากสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ และสังคมเมื่อเกิดปัญหาขึ้นมามนุษย์ก็พยายามหาวิธีการแก้ปัญหา แนวปฏิบัติการแก้ปัญหาทางธรรมชาติของคนในสมัยก่อนๆ มักอาศัยความเชื่อ เช่น แม่พระธรณี แม่พระคงคาได้ให้ที่อยู่อาศัย ให้ความสมบูรณ์แก่ไร่นา ให้ได้อาบได้กิน ดังนั้นจึงได้มีประเพณีลอยกระทงของไทย ประเพณีการบวชพระ เพื่อสร้างบุญแผ่กุศลผลบุญสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา  การเผยแพร่ทางวัฒนธรรม (Cultural diffusion) วัฒนธรรมทาง หนึ่ง ย่อม แตกต่างไปจากวัฒนธรรมทางสังคมอื่น ๆ ทั้งนี้เพราะวัฒนธรรมมิได้เกิดขึ้นมาใน ภาชนะ ที่ถูกผนึกตราบเท่าที่มนุษย์ เช่น นักท่องเที่ยว พ่อค้า ทหาร หมอสอนศาสนา และผู้อพยพยังคง ย้ายถิ่นที่อยู่จากแห่งหนึ่งไปยังแห่งอื่น ๆ เขาเหล่านั้นมักนำวัฒนธรรมของพวกเขาติดตัว ไปด้วย เสมอ ซึ่งถือได้ว่า เป็นการเผยแพร่ทางวัฒนธรรม เป็นไปได้อย่างสะดวกรวดเร็วและกว้างขวาง ประจักษ์ พยานในเรื่องนี้จะเห็นได้ว่าน้ำอัดลมชื่อต่าง ๆ มีอยู่ทั่วทุกมุมโลก  วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่กำหนดพฤติกรรมของมนุษย์  พฤติกรรมของคน จะเป็นเช่นไรก็ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของกลุ่มสังคมนั้น ๆ เช่น วัฒนธรรมในการพบปะทักทายของ ไทย ใช้ในการสวัสดีของชาวตะวันตกทั่วไปใช้ในการสัมผัสมือ ของชาวทิเบตใช้การแลบลิ้น ของชาว เป็นต้น วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ควบคุมสังคม สร้างความเป็นระเบียบ เรียบร้อย ให้แก่สังคม เพราะในวัฒนธรรมจะมีทั้งความศรัทธา  ความเชื่อ ค่านิยม บรรทัดฐาน เป็นต้น ตลอดจน ผลตอบแทนในการปฏิบัติและบทลงโทษเมื่อฝ่าฝืน